มุมกล้องของภาพยนตร์


มุมกล้องของภาพยนตร์

Shot ในความหมายของระยะการถ่ายทำภาพยนตร์อาจแบ่งจากลักษณะที่ใช้ในการถ่ายทำได้ดังนี้


1. ELS หรือ Extreme Long Shot เป็นการถ่ายภาพระยะไกลที่สุด เช่นเห็นเมืองทั้งเมือง ผืนป่าทั้งป่า หรือทะเลทรายกว้างสุดลูกหูลูกตา ซึ่งเป็นช็อตที่มักพบมากในหนังประเภท Epic หรือหนังมหากาพย์ที่เล่าเรื่องราวใหญ่โต จึงมีฉากที่แสดงความอลังการ อย่างไรก็ตามในหนังเพื่อศิลปะหลายเรื่องการถ่ายภาพในระยะนี้ก็ใช้เพื่อวัตถุ ประสงค์อื่นๆ เช่น ความไม่แน่นอน น่าสงสัย ความโดดเดี่ยว เปลี่ยวเหงา เช่นหนังของ มิเกลแองเจโล่ แอนโทนิโอนี่



2. LS หรือ Long Shot เป็นการถ่ายภาพระยะไกล พื้นที่ที่มากกว่าตัวละครทำให้เราใกล้ชิดกับฉากหรือทัศนียภาพมากกว่าความ รู้สึก ผลดังกล่าวทำให้ช็อตนี้มักใช้ในหนังเพื่อแสดงบรรยากาศเย็นชา หรือธรรมชาติที่ดูมีอิทธิพลเหนือผู้คน ในกรณีที่ใช้ถ่ายทำสถานที่เพื่อแนะนำเรื่องว่าเป็นฉากใด ซึ่งมักเป็นฉากเปิด งานทางด้านภาพยนตร์มักจะถ่ายฉากประเภทนี้เก็บไว้เพื่อความจำเป็นในการเล่า เรื่อง มักเรียกว่า Established Shot



3. MLS หรือ Medium Long Shot ช็อตที่อยู่ระหว่างระยะไกล และระยะ MS มักถ่ายเพื่อเปิดให้เห็นบุคคล กับวัตถุประสงค์ที่ต่างกันไป เช่น หมู่คณะหลายคน, ภาพคนกับพื้นที่ปิด หรือพื้นที่เปิด ซึ่งก็ให้ความหมายของภาพต่างกัน



4. MS หรือ Medium Shot เป็นช็อตที่ได้รับความนิยมที่สุด เพราะใช้ในการดำเนินเรื่อง และสนทนา ภาพออกมาอยู่ในระดับที่สบายตา โดยธรรมชาติของช็อตแบบนี้ไม่เน้นอารมณ์ร่วมกับผู้ชม แต่เน้นให้เพื่อใช้สำหรับเล่าเรื่อง ฉากการสนทนา บ้างก็เรียกว่า Two Shot คือเป็นช็อตที่ถ่ายให้เห็นคนสองคนทั้งตัว ไปจนระดับลำตัวถึงหัว



5. MCU หรือ Medium Close Up กึ่งกลางระหว่าง MS กับ Close Up เป็นอีกหนึ่งช็อตที่เรามักเห็นบ่อยๆ ในการถ่ายทำภาพยนตร์สำหรับผู้ชมวงกว้าง



6. CU หรือ Close Up ระยะใกล้ เป็นระยะที่เน้นอารมณ์ความรู้สึกตัวละครเป็นหลัก ไม่ว่าจะโกรธ เศร้า ดีใจ และใบหน้าของมนุษย์ยังแสดงอารมณ์ได้หลากหลาย ช็อตนี้ตัวอย่างที่มักได้รับการกล่าวถึงบ่อยคือ City Light ของ ชาร์ลี แชปลิน ตลอดทั้งเรื่องเราเห็นอารมณ์ขันของเขาในระยะไกล หรือระยะกลางภาพ แต่เมื่อช่วงท้ายต้องการเร้าอารมณ์ตัวละครหลักได้ถูกจับภาพใบหน้าเป็นครั้ง แรก มันจึงส่งผลให้เราคล้อยตามได้



7. ECU หรือ Extreme Close Up ระยะใกล้มาก เป็นระยะภาพที่เน้นความรู้สึกในระดับที่สูงขึ้นกว่า CU เช่น ถ่ายภาพดวงตาในระยะประชิด หรืออวัยวะบางอย่างเพื่อแสดงอากัปกิริยาที่มีนัยยะต่างไปจากการแสดงออกอย่าง อื่น เพราะการส่งผลทางภาพที่ให้อารมณ์สุดโต่ง เราจึงมักเห็นช็อตนี้ในหนังสยองขวัญ หนังทดลอง หรือหนังทางด้านศิลปะบ่อยกว่าหนังสำหรับผู้ชมทั่วไป

แสงในภาพยนตร์

         1.1 ความสำคัญและประโยชน์- สร้างความเข้าใจในภาพ- สร้างบรรยากาศของเรื่องราว- ทำให้รับรู้เกี่ยวกับมิติและความมืด- ให้เกิดความสวยงาม1.2 ลักษณะของแสงเพื่อการถ่ายทำภาพยนตร์- แหล่งแสง มาจาก แสงธรรมชาติ แสงจากไฟประดิษฐ์-ลักษณะของแสง แสงกระด้าง: สร้างความรู้สึกที่รุนแรง แสงนวลฟุ้ง: สร้างอารมณ์ชวนฝัน1.3 อิทธิพลของแสงต่ออารมณ์- ลักษณะของแสง- ทิศทางของแสง- สีของแสง- การส่งผ่านของแสง1.4 การวัดแสง- วัดแสงสะท้อน- วัดแสงตกกระทบ-แสงหลัก: Main light | key ligh-แสงเสริม: Fill light-แสงส่องหลัง: Back light-ส่องผม: hair light-ส่องไหล่: kick light-แสงส่องฉาก (BACKGROUND LIGHT)
จิตวิทยาแห่งสี ในภาพยนตร์
สี ที่เกิดจากปรากฏการณ์ตามธรรมชาติสี ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ส้ม-แดง ร้อน ท้าทาย ตื่นเต้น ชีวิตเหลือง-เขียว ร่าเริง ธรรมชาติ ผ่อนคลายน้ำเงิน-เทา สงบ สุขุมน้ำตาล-เทา เศร้า รันทด สิ้นหวังส้ม-เขียว จริงจัง อำนาจ พลัง กำลังใจฟ้า-ขาว ปลอดโปร่ง สดใส อ่อนโยนปัจจัยในการเลือกสี (มิติ ของ สี ในภาพยนตร์)(1) เวลา ซึ่งแสดงถึงบรรยากาศ ที่ปรากฏลงบนภาพ เช่น เช้า กลางวัน ค่ำ กลางคืน(2) อารมณ์ ซึ่งแสดงถึง พลังที่ซ่อนอยู่ภายในใจ เช่น ความรัก ความพยาบาท ความท้อแท้(3)สถานที่ เช่น ภายนอก ภายใน นรก สวรรค์ ที่กลางแจ้ง หรือที่แคบ ย่อมให้สีที่แตกต่างกัน(4) วัฒนธรรม มนุษย์ที่มีวัฒนธรรม ความเชื่อ และสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ย่อมตีความหมายของสี ที่แตกต่างกันไปด้วย
แสงในภาพยนตร์ /วิดีทัศน์
การเตรียมสถานที่ในการจัดแสง- ศึกษาบท- เลือกสถานที่การจัดแสง- ความสมดุลของแสงบนวัตถุที่เคลื่อนที่ และวัตถุที่อยู่นิ่ง- ความต่อเนื่องของแสง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แสงในภาพยนตร์

5 อันดับหนังไทยที่ทำรายได้สูงสุด




อันดับ 1. พี่มาก...พระโขนง (GTH) 




รายได้ : 1,000 ล้านบาท 




อันดับ 2. ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้ (GTH)


รายได้ 590 บาท




อันดับ 3. สุริโยไท (สหมงคลฟิล์ม-พร้อมมิตร)


รายได้ : รายได้ 326.1 (กรุงเทพฯ, ปริมณฑล, เชียงใหม่ และยังไม่ปิดการฉาย)






อันดับ 4. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1 องค์ประกันหงสา 


รายได้ : 550 ล้านบาท




อันดับ 5. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 2 ประกาศอิสรภาพ (สหมงคลฟิล์ม-พร้อมมิตร)


รายได้ : 219.16 ล้านบาท








5 อันดับหนังทำเงินมากที่สุดของต่างประเทศ


5. Marvel’s The Avengers (2012)


รายได้รวม 1,518,800,000 ดอลลาร์สหรัฐ



4. Jurassic World (2015)


รายได้รวม 1,670,400,000 ดอลลาร์สหรัฐ




3. Star Wars: The Force Awakens (2015)


รายได้รวม 2,068,200,000 ดอลลาร์สหรัฐ



2. Titanic (1997)


รายได้รวม 2,186,800,000 ดอลลาร์สหรัฐ




1. Avatar (2009)


รายได้รวม 2,788,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ

เราจะได้รับอะไรจากการดูภาพยนตร์


                                                



10.ได้ออกไปพบปะไปเที่ยวกับเพื่อน



บางทีเราก็สามารถดูหนังกับเพื่อนหรือคนพิเศษของเราก็ได้ และแน่นอนเราเองก็สามารถอะไรที่มันน่าตื่นเต้นกับคนพิเศษได้เช่น การโอบกอด จูบ หอมแก้มได้ ทำให้ยิ่งเพิ่มอรรถรสและสร้างความสัมพันธ์ 





                                                 



9.เพิ่มการรับรู้ให้กับตัวเอง



การดูหนังที่จะทำให้เราจะทำให้รับรู้เรื่องราวต่างๆที่ฉายออกมา อย่างเช่นหนังแนวสงคราม ก็ทำให้เรารับรู้ถึงกลยุทธ์การทหาร หนังแนวสืบสวนก็จะทำให้รู้ว่าสิ่งที่เราคาดเดาก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่เราคิดเสมอไป แบบนี้เป็นต้น









8.สร้างความหัวเราะให้กับเราได้



การดูหนังแต่ละเรื่อง โดยเฉพาะหนังแนวตลกโปกฮาจะช่วยให้เรากรามค้างได้เป็นอย่างดี ทำให้เราเกิดความผ่อนคลายจากความเครียด ลืมเรื่องต่างๆความทุกข์ยากในอดีตได้อย่างหมดใจ ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่ไม่ค่อยหัวเราะออกมาเป็นอย่างยิ่ง








7.ได้รับประสบการณ์อันน่าตื่นเต้น



หนังบางเรื่องก็สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้คนเป็นอย่างมาก บางทีอาจตื่นเต้นยิ่งกว่าการออกไปเที่ยวซะอีก และนี่ก็ถือเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้เราสัมผัสความตื่นเต้นได้อย่างน่าประทับใจ หากเราอยากรู้ ก็ลองดูหนังให้มากๆสิ












6.เยียวยาจิตใจของเราได้



หนังบางเรื่องโดยเฉพาะหนังประเภทรักโรแมนติกต่างๆ จะเยียวยาจิตใจสำหรับคนที่มีความรักหรืออกหักได้เป็นอย่างดี และหลายคนส่วนใหญ่ก็มักจะชอบดูหนังรักโรแมนติกแบบซ้ำไปซ้ำมา เพื่อเป็นการตอกย้ำชีวิตตัวเองที่กำลังเผชิญอยู่ อย่างเช่นซี่รีสชื่อดังบ้านเราเกี่ยวกับความรักวัยรุ่น เป็นต้น ที่วัยรุ่นจะชื่นชอบดูหนังแบบนี้เป็นพิเศษ 













5.ได้รับแรงบันดาลใจจากหนัง



หนังบางเรื่องโดยเฉพาะหนังชีวิตหรือหนังที่สร้างจากเรื่องจริง เป็นสิ่งที่กระตุ้นจิตใจให้ผู้คนหันมาลุกขึ้นสู้ชีวิตของตัวเองได้มากขึ้น และก็ให้แง่คิดอะไรดีๆอะไรหลายอย่าง ปรับเปลี่ยนทัศนคติของเราต่างไปจากเดิม บางทีก็อาจทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนไปก็ได้













4.ใช้เป็นเครื่องมือบำบัดได้



เป็นที่น่าสนใจว่าการดูหนังสามารถใช้เป็นเครื่องมือบำบัดอาการต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นการลดความกดดัน อารมณ์ของตัวเอง ที่ทำให้เราสามารถจินตนาการตามที่หนังฉายได้และก็ฟังดนตรีจากหนังไปด้วยพร้อมกัน ทั้งช่วยลดอาการความสับสนวุ่นวานทางจิตใจได้ด้วย













3.ช่วยฆ่าเวลา



อันนี้ถือเป็นประโยชน์ที่ใครๆมองว่าเป็นอันดับต้นๆแน่นอน หากเราไม่มีอะไรทำ ก็หาหนังอะไรมาดูก็ได้ ไปดูหนังตามโรงภาพยนตร์ได้ ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ เพราะว่าหนังมันก็ช่วยเรื่องอย่างที่ว่าไปอันดับก่อนหน้านี้แล้ว











2.ให้ความบันเทิง



เหตุผลหลักๆก็แน่นอนว่า หนีไม่พ้นเรื่องความบันเทิงไปได้ ไม่ว่าจะเป็นหนังประเภทไหนต่างๆ ก็ล้วนแล้วก็ให้ความบันเทิงกับเราทั้งสิ้น ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของหนังแต่ละประเภทของพวกเราด้วย ถือว่าเป็นประโยชน์อันดับต้นๆเลยทีเดียว











1.เอาชนะความเครียดของตัวเองได้



ประโยชน์ที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นอันดับหนึ่งก็คือ การดูหนังสามารถเอาชนะความเครียดของเราได้ ไม่ว่าจะเป็นหนังประเภทก็ตาม ซึ่งหนังจะช่วยให้เราจดจ่อกับการดูหนังและก็ลืมเรื่องความเครียดต่างๆไปได้ เพราะว่าหนังจะทำให้เราติดตามเนื้อเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ จนทำให้เราลืมไปแล้วว่าความเครียดหายไปไหน

ประเภทของภาพยนตร์

          ภาพยนตร์ถูกจัดแบ่งออกเป็นหลายแนว โดยภาพยนตร์หนึ่งแนว หมายถึง ภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นมาจากองค์ประกอบของเรื่องราวที่คล้ายๆกัน ตามส่วนประกอบของภาพยนตร์หลักๆ 3 อย่าง ได้แก่ ฉาก อารมณ์ รูปแบบ ซึ่งแต่ละส่วนประกอบมีความหมาย ดังนี้
ฉาก หมายถึง สถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เรื่องราวในภาพยนตร์ดำเนินไป
อารมณ์ หมายถึง ความรู้สึกที่ผู้ชมได้รับตลอดการชมภาพยนตร์
รูปแบบ หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายทำและวิธีดำเนินเรื่อง


        อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์หนึ่งเรื่องอาจมีหลายแนวอยู่ในเรื่องเดียวกัน ซึ่งในที่นี้จะแบ่งแนวของภาพยนตร์ โดยยึดถืออารมณ์ ความรู้สึกที่ผู้ชมได้รับ ดังนี้

1.ภาพยนตร์แอ็กชั่น (Action Film) หมายถึง ภาพยนตร์แบบบู๊ ยิง ต่อสู้ ระทึกใจ สร้างความตื่นเต้นเร้าใจให้กับผู้ชมผ่านการใช้ความรุนแรง เหมาะสำหรับคนชอบความรุนแรงและศิลปะการต่อสู้ เช่น ช็อคโกแลต องค์บาก 1-3 เป็นต้น
2.ภาพยนตร์สงคราม (War Film) ที่มีการอ้างอิงเหตุการณ์สงครามที่เกิดขึ้นในอดีต เน้นจุดๆหนึ่งในสงครามนั้นๆ
3.ภาพยนตร์ผจญภัย (Adventure Film) ภาพยนตร์แนวผจญภัย เข้าป่าฝ่าดง เจอปัญหาอุปสรรคมากมาย และต้องมีการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ชมผ่านทางการเสี่ยงภัยของตัวละคร
4.หนังคาวบอยตะวันตก (Western) เป็นภาพยนตร์ที่แสดงวิถีชีวิตของคนอเมริกันยุคบุกเบิกที่เข้าไปตั้งรกรากในดินแดนป่าเถื่อนแถบตะวันตกของสหรัฐอเมริกาเมื่อร้อยกว่าปีก่อน เน้นเรื่องราวของคนที่มีอาชีพรับจ้างขี่ม้าต้อนวัว หรือเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ ที่ต้องสู้กับแก้งโจรผู้ร้าย นายทุน หรือเจ้าหน้าที่รัฐที่ชั่วร้าย การดวลปืน พวกนอกกฎหมาย หรือบางเรื่องก็สู้กับพวกอินเดียนแดง
5.หนังตลก (Comedy) ภาพยนตร์ตลก เบาสมอง มุ่งสร้างความสนุกสนานและเสียงหัวเราะ เหมาะกับคนที่ต้องการดูเพื่อพักผ่อน ไม่ต้องคิดอะไรมาก
6.ภาพยนตร์ชีวิต : ดราม่า (Drama) สร้างความตื่นตัวตื่นใจ ความเศร้าสลด ผ่านการแสดงของตัวละคร ที่สร้างความรู้สึกซึ้งเศร้า เคล้าน้ำตา ทำให้นึกถึงชีวิตคนจริงๆ
7.ภาพยนตร์อีโรติก (Erotic Film) เป็นภาพยนตร์ที่ไม่เหมาะกับผู้ที่มีอายุไม่ถึง 18 ปี เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเพศ
8.ภาพยนตร์เพลง (Musical) ภาพยนตร์เพลง มีลักษณะที่ตัวละครร้องและเต้นในเรื่องที่นำเสนอ โดยส่วนใหญ่จะเป็นประเภทหนังรัก
9.ภาพยนตร์รักโรแมนติก (Romance) มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักฉันชู้สาว เหมาะกับคู่หนุ่มสาวและผู้ที่มีความรักทั้งหลาย
10.ภาพยนตร์นิยายเหนือจริง : แฟนตาซี (Fantasy) มักมีหรือเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์ การผสมจินตนาการ และเรื่องเหนือจริง เรื่องในฝัน เพ้อเจ้อ สร้างความสนุกสนาน และตระการตาตระการใจด้วยฉากและเนื้อเรื่องที่ไม่อยู่ในความเป็นจริง
11.ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ หรือ ไซไฟ (Science fiction หรือ sci-fi) ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาอ้างอิงวิทยาศาสตร์ หรือใช้ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีเข้าช่วยในการอธิบายลักษณะตัวละคร ฉาก พฤติกรรมของตัวละคร หรือความเป็นไปของเนื้อเรื่อง มักเป็นเรื่องราวของโลกในอนาคต หรืออวกาศ ที่มีเทคโนโลยีที่เกิดจากวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เป็นองค์ประกอบ และทำให้น่าสนใจโดยผสมจินตนาการเข้าไปด้วย
12.ภาพยนตร์สยองขวัญ (Horror Film) หรือภาพยนตร์เขย่าขวัญ (Thriller) มีเรื่องราวและฉากที่มุ่งสร้างความตื่นเต้น ความกลัว สยองขวัญ และความตึงเครียด
13.ภาพยนตร์ลึกลับ (Mystery) ภาพยนตร์ที่ลึกลับ ยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้ มุ่งสร้างความฉงนงงงวย และความรู้สึกท้าทายในการแก้ไขปริศนา
14.ภาพยนตร์อาชญากรรม (Crime) เรื่องที่นำเสนอมักเกี่ยวกับการสืบหาฆาตกร ฆาตกรที่ก่ออาชญากรรม แก็งค์มาเฟีย หรือกลุ่มผู้ก่ออาชญากรรม การสูญเสียและการแก้แค้น เรื่องที่ตัวละครเอกเป็นส่วนหนึ่งของอาชญากรรม หรือตำรวจสืบสวน
15.ภาพยนตร์การ์ตูน (Animation) หมายถึง ภาพยนตร์การ์ตูน ซึ่งปัจจุบันกำลังมาแรง
16.ภาพยนตร์แนวสารคดี (Documentary Film) แสดงเรื่องราวเป็นสารคดี นำเสนอข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ใช่แต่งขึ้นใหม่
17.ฟิล์มนัวร์ (Film-Noir) เน้นการใช้ภาพเป็นตัวสื่อเนื้อหา ดูง่ายหรือยากขึ้นอยู่กับบุคคล

วิธีการสร้างภาพยนตร์

  5  ขั้นตอนหลังการผลิต (Post Production)



เป็นขั้นตอนการตัดต่อเรียบเรียงภาพและเสียงเข้าไว้ด้วยกันตามสคริปต์หรือเนื้อหาของเรื่อง ขั้นตอนนี้จะมีการใส่กราฟิกและเทคนิคพิเศษภาพ การเชื่อมต่อ ภาพ/ฉาก อาจมีการบันทึกเสียงในห้องบันทึกเสียง เพิ่มเติม อีกก็ได้ อาจมีการนำดนตรีมาประกอบ เรื่องราวเพื่อเพิ่มอรรธรสในการรับชมยิ่งขึ้น ขั้นตอนนี้ส่วนใหญ่จะดำเนินการอยู่ในห้องตัดต่อ มีเฉพาะ คนตัดต่อ (Editor) ผู้กำกับภาพยนตร์และช่างเทคนิคที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

 
    
















 4   ขั้นตอนการผลิต (Production)
เป็นขั้นตอนการดำเนินการถ่ายทำภาพยนตร์(ออกกอง)ทีมงานผู้ผลิตได้แก่ ผู้กำกับภาพยนตร์ ช่างภาพ ช่างไฟ ช่างเทคนิคเสียง ช่างศิลป์ ผู้แต่งหน้าทำผม ผู้ฝึกซ้อมนักแสดง รวมทั้งการบันทึกเสียงตามที่กำหนดไว้ในสคริปต์ ขั้นตอนนี้อาจมีการถ่ายทำแก้ไขหลายครั้งจนเป็นที่พอใจ (take) นอกจากนี้อาจจำเป็นต้องเก็บภาพ/เสียงบรรยากาศทั่วไป ภาพเฉพาะมุมเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการขยายความ (insert) เพื่อให้ผู้ชมได้เห็นและเข้าใจรายละเอียดมากยิ่งขึ้น





3 ขั้นก่อนการผลิต (Pre Production)



นับเป็นขั้นตอนที่มีความสาคัญเป็นอย่างยิ่งก่อนเริ่มทำการผลิตภาพยนตร์ ได้แก่การเตรียมข้อมูล การกำหนดหรือเค้าโครงเรื่อง การประสานงาน กองถ่ายกับสถานที่ถ่ายทำ ประชุมวางแผนการผลิต การเขียนสคริปต์ การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์การถ่ายทำ อุปกรณ์การบันทึกเสียง ห้องบันทึกเสียง ห้องตัดต่อ อุปกรณ์ประกอบฉาก อุปกรณ์แสง การเตรียม ทีมงาน ทุกฝ่าย การเดิน ทาง อาหาร ที่พัก ฯลฯ หากจัดเตรียมรายละเอียดในขั้นตอนนี้ได้ดี ก็จะส่งผลให้ขั้นตอนการผลิตทาได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้นดังนั้น Pre Production เป็นขั้นตอนที่ผู้อำนวยการสร้างหรือนายทุนหนังส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเป็น อันดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่มีส่วนอย่างมากที่จะชี้เป็นชี้ตายได้ว่าหนังจะออกมาดีหรือไม่ช่วง พรี-โพร จะเป็นช่วงที่หนังเริ่มก่อเค้าเป็นรูปเป็นร่างจากเรื่องที่ได้รับการอนุมัติสร้างจากนายทุน





2 บุคคลที่เกี่ยวของในขั้นตอนการเตรียมงานสร้างภาพยนตร์


1. ผู้อำนวยการผลิต (Producer)
ผู้อำนวยการผลิตเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการผลิตภาพยนตร์ทั้งหมด นับตั้งแต่การวางแผน การถ่ายทำ หลังการถ่ายทำ เพื่อให้การผลิตภาพยนตร์เป็นไปอย่างราบรื่นและมีความสมบูรณ์ที่สุด
2. ฝ่ายกฎหมาย (Legal Department)
ฝ่ายกฎหมายทำหน้าที่ในการทำสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตภาพยนตร์ ซึ่งได้แก่การทำสัญญาเช่าลิขสิทธ์ การเช่าเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ การทำประกันภัย ฯลฯ
3. ผู้เขียนบทภาพยนตร์ (Script Writer)
ผู้เขียนบทภาพยนตร์ ทำหน้าที่เขียนบทภาพยนตร์ตามที่ได้รับมอบหมายจนแล้วเสร็จ เมื่อเขียนบทเสร็จแล้วภาระหน้าที่ต่อไปก็คือการแก้ไขบท เมื่อแก้ไขบทจนเป็นที่พอใจของผู้ว่าจ้างแล้วภาระหน้าที่ของผู้เขียนบทก็หมดไป


4. ผู้กำกับภาพยนตร์ (Film Director)
ผู้กำกับภาพยนตร์ มีหน้าที่ในการทำความเข้าใจบทภาพยนตร์ เลือกทีมงาน เลือกนักแสดง สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ และเป็นผู้ที่ควบคุมงานผลิตภาพยนตร์ทั้งหมดภายใต้การดูแล
ของผู้อำนวยการผลิตภาพยนตร์



เป็นเอก รัตนเรือง ผู้กำกับภาพยนตร์ในประเทศไทย



5. ผู้ช่วยกำกับภาพยนตร์ (Assistant Film Director)
ผู้ช่วยกำกับภาพยนตร์ โดยทั่วไปแล้วถ้าเป็นกองถ่ายภาพยนตร์ทีมใหญ่ๆ จะมีผู้ช่วยกำกับภาพยนตร์ 2-3 คน ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน



ผู้กำกับภาพและผู้ช่วยกล้อง

6. ผู้กำกับภาพ (Director of Photography)
ผู้กำกับภาพจะประสานงานกับผู้กำกับภาพยนตร์ในการวางแผนการจัดแสงการออกแบบแสงและการวางมุมกล้องเพื่อการสิ่อความหมายด้วยภาพต่างๆ กองถ่ายหนังใหญ่ผู้กำกับภาพนั้นส่วนใหญ่มักจะเป็นช่างกล้องด้วย


7. ช่างกล้อง (Camera Operator)
ช่างกล้องจะประสานงานกับผู้กำกับและผู้กำกับภาพในการถ่ายทำภาพยนตร์โดยการกำหนดการวางมุมกล้อง ขนาดภาพ การสื่อความหมายด้วยภาพซึ่งจะวางแผนล่วงหน้าในขั้นตอนเตรียมงานสร้างก่อนที่จะถ่ายจริง

8. ผู้กำกับศิลป์ (Art Director)
ผู้กำกับศิลป์ทำหน้าที่ในการไปหาสถานที่ ที่ถ่ายทำ ร่วมกับผู้ทำหน้าที่จัดหาสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้ช่วยกำกับ ธุรกิจกองถ่าย ฯลฯ การออกแบบสร้างฉากตามยุคสมัยบรรยากาศตามเรื่องราวในบทภาพยนตร์
9. ผู้ช่วยกำกับศิลป์ (Asst. Art Director)
ผู้ช่วยผู้กำกับศิลป์ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้กำกับศิลป์ในการออกแบบฉากที่ได้รับมอบหมายจากผู้กำกับศิลป์
10. ฝ่ายจัดหาอุปกรณ์ประกอบฉาก (Properties Master)
ฝ่ายจัดหาอุปกรณ์ประกอบฉากทำหน้าที่จัดหาอุปกรณ์ประกอบฉากต่างๆเช่น จัดหา ตู้ โต๊ะ นาฬิกา ผ้าม่าน ฯลฯ ตามการออกแบบของฝ่ายศิลป์
11. ฝ่ายสร้างฉาก
ฝ่ายสร้างฉากจะทำหน้าที่สร้างฉากตามที่ฝ่ายศิลป์ออกแบบ ภายในระยะเวลาที่กำหนดก่อนที่จะมีการถ่ายทำภาพยนตร์
12. ผู้เขียนสตอรี่บอร์ด (Story Board Visualizer)
ผู้เขียนสตอรี่บอร์ด จะทำหน้าที่แปลงบทภาพยนตร์ให้เป็นภาพเขียน โดยกำหนด ขนาดภาพ มุมกล้อง การจัดองค์ประกอบภาพ ฯลฯ เพื่อให้ง่ายสำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์ โดยทั่วไปแล้วการเขียนสตอรี่บอร์ดนั้นจะเขียนเฉพาะฉากที่ถ่ายทำยากๆเท่านั้น เช่น ฉาก ACTION ต่างๆซึ่งทีมงานที่เกี่ยวข้องเช่น ผู้กำกับภาพยนตร์ ช่างกล้อง ผู้กำกับศิลป์ ฯลฯ พอเห็นภาพจากสตอรี่บอร์ดแล้วก็สามารถจะออกแบบทำงานตามหน้าที่ของตนได้ทันที
13. ผู้ออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (COSTUME DESIGNER)
ผู้ออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายทำหน้าที่ออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับต่างๆ ของตัวละคร โดยคำนึงถึงยุคสมัย บุคลิกของตัวละคร โดยก่อนที่จะออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายนั้น ผู้ออกแบบนอกจะอ่านจากบทภาพยนตร์อย่างละเอียดแล้ว จะต้องเข้าร่วมประชุมกับผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้กำกับศิลป์ เพื่อทราบแนวคิดและกำหนดแนวทางของการออกแบบโทรและอารมณ์ของภาพยนตร์ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
14. ผู้จัดคิวเสื้อผ้าเครื่องแต่ง (WARDROBE)
ผู้จัดเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ทำหน้าที่จัดคิวเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของนักแสดงให้เป็นไปตามตารางการถ่ายทำภาพยนตร์ ตลอดจนดูแลเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายให้สามารถใช้งานได้ทันทีที่ผู้กำกับภาพยนตร์ต้องการ
15. ผู้จัดการจัดหาสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ (LOCATION MANAGER)
บุคลากรตำแหน่งนี้เพิ่งมีในกองถ่ายภาพยนตร์ไทยในระยะเวลาที่ไม่นานมานี้ เพราะก่อนหน้านี้ผู้กำกับ ผู้ช่วยกำกับ และผู้กำกับศิลป์ จะช่วยกันหาสถานที่ถ่ายทำ แต่เพราะความไม่สะดวก เพื่อให้การจัดหาสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงกำหนดให้มีตำแหน่งนี้ขึ้นมา
16. ผู้คัดเลือกนักแสดง (CASTING)
ผู้คัดเลือกนักแสดง ทำหน้าที่คัดเลือกนักแสดงตามบุคลิกของตัวละครที่กำหนดไว้ในบทภาพยนตร์ ซึ่งการคัดเลือกนักแสดงนี้ผู้คัดเลือกนักแสดงจะต้องทำงานร่วมกับผู้อำนวยการผลิต ผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้ช่วยกำกับภาพยนตร์ เป็นต้น
17. ผู้ฝึกซ้อมนักแสดง (ACTING COACH)
ผู้ฝึกซ้อมนักแสดง จะทำหน้าที่หลังจากที่คัดเลือกนักแสดงแล้ว บางกองถ่ายจะกำหนดให้มีการฝึกซ้อมนักแสดงก่อนที่จะมีการถ่ายทำภาพยนตร์ 2-3 เดือน เพื่อให้นักแสดงบางคนที่ยังไม่มีพื้นฐานทางการแสดงได้พัฒนา
ตนเอง สามารถที่จะแสดงภาพยนตร์ในขั้นตอนการถ่ายทำได้อย่างราบรื่น สำหรับนักแสดงที่มีประสบการณ์แล้วก็จะต้องมีการฝึกซ้อมการแสดงตามบทภาพยนตร์ เช่นเดียวกัน
18. ธุรกิจกองถ่ายภาพยนตร์
ธุรกิจกองถ่ายภาพยนตร์ทำหน้าที่ติดต่อประสานงาน ขอใช้ ขอเช่าสถานที่ถ่ายทำ ภาพยนตร์ การติดต่อนักแสดง การทำงบประมาณค่าใช้จ่ายรายวัน การจ่ายเงินแก่นักแสดงทีมงานตลอดจนทำบัญชีการใช้จ่ายในแต่ละวันเพื่อนำเสนอบริษัท

บุคลากรเหล่านี้จะต้องเข้ามาเตรียมงานที่บริษัท ก่อนที่จะลงมือสร้างภาพยนตร์ ซึ่งภาพยนตร์บางเรื่องจะใช้เวลาในการเตรียมงานประมาณ 1-3 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของภาพยนตร์แต่ละเรื่อง


1 ขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์


1.การค้นคว้าหาข้อมูล (research) เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจาก
เรา พบประเด็นของเรื่องแล้วจึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่อง ราวที่ถูกต้องจริงชัดเจน และมีมิติมากขึ้น คุณภาพของ ภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม



2.การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise) หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นถ้า...” (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค คือ เรื่อง West Side Story, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ดาวอังคารบุกโลก คือเรื่อง The Invasion of Mars, เกิดอะไรขึ้นถ้าก็อตซิล่าบุกนิวยอร์ค คือเรื่อง Godzilla, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ต่างดาวบุกโลก คือเรื่อง The Independence Day, เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นบนเรือไททานิค คือเรื่อง Titanic เป็นต้น

3.การเขียนเรื่องย่อ (synopsis) คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)

4.การเขียนโครงเรื่องขยาย (treatment) เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำหคัญ (premise) ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ
5.บทภาพยนตร์ (screenplay) สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีเควนส์หลัก (master scene/sequence)หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที

6.บทถ่ายทำ (shooting script) คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ(effect) อื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบ เรื่อง และขนาดภาพในการเขียน shooting script มีดังนี้


6.1ภาพระยะไกลมากหรือระยะไกลสุด (Extreme Long Shot / ELS)
ได้แก่ ภาพที่ถ่ายภายนอกสถานที่โล่งแจ้ง มักเน้นพื้นที่หรือบริเวณที่กว้างใหญ่ไพศาล เมื่อเปรียบ เทียบกับสัดส่วนของมนุษย์ที่มีขนาดเล็ก ภาพ ELS ส่วนใหญ่ใช้สำหรับการเปิดฉากเพื่อบอกเวลาและสถานที่ อาจเรียกว่า Establishing Shot ก็ได้ เป็นช็อตที่แสดงความยิ่งใหญ่ของฉากหลัง


Extreme Long Shot




6.2 ภาพระยะไกล (Long Shot /LS)
ภาพระยะไกล เป็นภาพที่ค่อนข้างสับสนเพราะมีขนาดที่ไม่แน่นอนตายตัว บางครั้งเรียกภาพกว้าง (Wide Shot) เวลาใช้อาจกินความตั้งแต่ภาพระยะไกลมาก (ELS) ถึงภาพระยะไกล (LS) ซึ่งเป็นภาพขนาดกว้างแต่สามารถเห็นรายละเอียดของฉากหลังและผู้แสดงมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับภาพระยะไกลมาก หรือเรียกว่า Full Shot เป็นภาพกว้างเห็นผู้แสดงเต็มตัว ตั้งแต่ศีรษะจนถึงส่วนเท้า



Long Shot





6.3 ภาพระยะไกลปานกลาง (Medium Long Shot / MLS)
เป็นภาพที่เห็นรายละเอียด ของผู้แสดงมากขึ้นตั้งแต่ศีรษะจนถึงขา หรือหัวเข่า ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า Knee Shot เป็นภาพที่เห็นตัวผู้แสดงเคลื่อนไหวสัมพันธ์กับฉากหลังหรือเห็นเฟอร์นิเจอร์ ในฉากนั้น



Medium Long Shot



6.4 ภาพระยะปานกลาง (Medium Shot /MS)ภาพระยะปานกลาง เป็นขนาดที่มีความหลากหลายและมีชื่อเรียกได้หลายชื่อเช่นเดียวกัน แต่โดยปกติจะมีขนาดประมาณตั้งแต่หนึ่งในสี่ถึงสามในสี่ของร่างกาย บางครั้งเรียกว่า Mid Shot หรือ Waist Shot ก็ได้ เป็นช็อตที่ใช้มากสุดอันหนึ่งภาพยนตร์



Medium Shot





6.5 ภาพระยะใกล้ปานกลาง (Medium Close-Up / MCU)
เป็นภาพแคบ คลอบคลุมบริเวณตั้งแต่ศีรษะถึงไหล่ของผู้แสดง ใช้สำหรับในฉากสนทนาที่เห็นอารมณ์ความรู้สึกที่ใบหน้า ผู้แสดงรู้สึกเด่นในเฟรม บางครั้งเรียกว่า Bust Shot มีขนาดเท่ารูปปั้นครึ่งตัว




Medium Close-Up



6.6 ภาพระยะใกล้ (Close-Up / CU)
เป็นภาพที่เห็นบริเวณศีรษะและบริเวณใบหน้า ของผู้แสดง มีรายละเอียดชัดเจนขึ้น เช่น ริ้วรอยบนใบหน้า น้ำตา ส่วนใหญ่เน้นความรู้สึกของผู้แสดงที่สายตา แววตา เป็นช็อตที่นิ่งเงียบมากกว่าให้มีบทสนทนา โดยกล้องนำคนดูเข้าไปสำรวจตัวละครอย่างใกล้ชิด



Close Up



6.7 ภาพระยะใกล้มาก (Extreme Close-Up /ECU หรือ XCU)

เป็นภาพที่เน้นส่วนใด ส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น ตา ปาก เท้า มือ เป็นต้น ภาพจะถูกขยายใหญ่บนจอ เห็นรายละเอียดมาก เป็นการเพิ่มการเล่าเรื่องในหนังให้ได้อารมณ์มากขึ้น



Extreme Close-Up



6.8 มุมสายตานก (Bird's-eye view)

มุมชนิดนี้มักเรียกทับศัพท์ทำให้เข้าใจ มากกว่า เป็นมุมถ่ายมาจากด้านบนเหนือศีรษะ ทำมุมตั้งฉากเป็นแนวดิ่ง 90 องศากับผู้แสดง เป็นมุมมองที่เราไม่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน จึงเป็นมุมที่แปลก แทนสายตานกที่อยู่บนท้องฟ้า



Bird's-eye view









ตัวอย่าง Storyboard
7. บทภาพ (storyboard) คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพ ประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย
















กองถ่ายทำภาพยนตร์คืออะไร



บุคลากรในงานภาพยนตร์ คือบุคลากรที่ทำงานในวงการภาพยนตร์ มีด้วยกันหลากหลายตำแหน่งมาก อาจสามารถจำแนกได้ทั้ง ก่อนการผลิต ระหว่างการผลิต และหลังการผลิต แต่บางตำแหน่งก็อาจจะไม่ตายตัว บางต่ำแหน่งต้องรับผิดชอบงานทั้งหมดก็มี หรือบางตำอาจมีปลีกย่อยลงไปได้อีก โดยมีดังต่อไปนี้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กองถ่าย



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กองถ่าย

หน้าที่และตำแหน่งในการถ่ายทำภาพยนตร์

- Producer (ผู้ควบคุมการสร้าง) : เหมือนกัน ก็เป็นเหมือนตัวกลางระหว่างผู้กำกับกับนายทุน คอยดูแลควบคุมการถ่ายทำให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย คุยกับนายทุนให้เข้าใจสิ่งที่ทางกองถ่ายจำเป็นต้องใช้ ต้องมี แต่ก็ต้องคอยควบคุมดูแลไม่ให้ผู้กำกับออกนอกลู่นอกทาง หรือว่าใช้งบประมาณมากจนเกินไป บางครั้งโปรดิวเซอร์ก็ต้องลงไปดูแลถึงในกองถ่ายด้วย เรียกว่าควบคุมผู้กำกับอีกที แต่ต้องให้อิสระผู้กำกับในแง่ของความคิดสร้างสรรค์นะ ไม่ไปจำกัดหรือทำให้ผู้กำกับทำงานลำบากมากขึ้น
- Director (ผู้กำกับ) : ก็คือ ผู้กำกับภาพยนตร์นั่นแหละค่ะ เป็นผู้กำกับควบคุมทิศทางของกองถ่ายทั้งหมด ทั้งในแง่ของการแสดง และงานเบื้องหลังอื่น ๆ หน้าที่หลักของผู้กำกับก็คือคิดเพื่อเล่าเรื่องค่ะ และต้องรับรู้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในกองถ่ายเพื่อคอยแก้ไขด้วย ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญที่ผู้ช่วยฯ ตัดสินใจเองไม่ได้ ผู้กำกับจะเป็นคนที่ตัดสินใจ ชี้ขาดว่าจะทำอย่างไรค่ะ
- Assistant Director (ผู้ช่วยผู้กำกับ) : ดูแลงานต่างๆ แทนผู้กำกับ และในอีกด้านอาจเป็นผู้ดูแล
ในภาคส่วนต่างๆ ตามเรื่องที่ตนถนัดหรือต้องการรับผิดชอบ
- Unit Production Manager (ผู้จัดการหน่วยการสร้าง) : ดูแลเรื่องงบประมาณ และระยะเวลาในการดำเนินงานต่างๆ (เปรียบเสมือนหน่วยบัญชีในกอง)
- Production Manager (ผู้จัดการสร้าง) : ดูแลเรื่องเกี่ยวกับสถานที่ที่จะใช้ในการถ่ายทำ มักทำงานคู้กับ ผู้กำกับงานศิลป์ (Art Director)
- Art Director (ผู้กำกับงานศิลป์) : ดูแลเกี่ยวกับรายละเอียด หรือเนื้อหา ในสถานที่ที่ใช้ในการถ่ายทำ (อาจเรียกได้ว่าเป็น Visual Effects)
- Costume Designer (ผู้ออกแบบชุด) : ดูแลเรื่องการแต่งกายของนักแสดง
- Make-up and Hair Designer (นักแต่งหน้าและทำผม) : ดูแลเรื่องมุมมองของนักแสดงในส่วนหัวทั้งหมด
- Casting Director (ผู้กำกับนักแสดง) : ดูแล ฝึกฝน แนะนำ และคัดเลือกนักแสดงโดยตรง
- Choreographer (ผู้กำกับกิริยาท่าทางในการเต้น) : ดูแลเกี่ยวกับการใช้ท่าเต้นของนักแสดง ในการถ่ายทำ (ถ้ามี)
- Director of Photography (DP : ผู้กำกับภาพ) : จะประสานงานกับผู้กำกับภาพยนตร์ในการวางแผนการจัดแสงการออกแบบแสงและการวางมุมกล้องเพื่อการสิ่อความหมายด้วยภาพต่างๆ ผู้กำกับภาพนั้นส่วนใหญ่มักจะเป็นช่างกล้องด้วย
- Director of Audiography (DA : ผู้กำกับเสียง) : หรือจะเรียกได้ว่า Sound Director เป็นผู้ดูแลเรื่องเสียง ในระหว่างการถ่ายทำ และหลังถ่ายทำ ดูแลและตรวจสอบเรื่องเสียงที่ใช้ทั้งหมด
- Gaffer แกฟเฟอร์ หรือคนกำกับแสง ออกแบบจัดวางแสงโดยจะทำงานร่วมกับผู้กำกับภาพมากที่สุด เพราะไฟที่ใช้จัดแสงจะต้องประสานการทำงานกับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์
- Sound Engineer/Designer (ผู้ออกแบบเสียง หรือสร้างเสียง) : เป็นผู้ที่สร้าง เสียงเอฟเฟค หรือเสียงประกอบของแต่ละฉากในการทำภาพยนตร์
- Computer Graphics Designer (ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก) :
ดูแลเรื่องการสร้างกราฟิกเพื่อใช้ประกอบการสร้างภาพยนตร์
- Editor (ผู้แก้ไข/ตัดต่อ) : เป็นผู้ที่ดูแลเรื่องการจัดเฟรม (Frames)
ในเนื้อภาพยนตร์นั้นๆ
- Supervisor (ผู้ดำเนินงาน) : มักจะเป็นผู้ที่คอยตรวจสอบการทำงาน หรือประเมินการทำงาน โดยมักจะเป็นผู้ที่ไม่ได้ทำงานในกองถ่าย และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้ว
- Executive Producer (ผู้อำนวยการผลิต) : ผู้ว่าจ้าง ในการถ่ายทำภาพยนตร์ หรือ ผู้ที่มอบหมายผู้กำกับในการดูแลงานในกองถ่าย
- Sponsor (ผู้สนับสนุน) : สนับสนุนด้านในด้านหนึ่งในการดำเนินงานในกองถ่าย ไม่ว่าจะเปนด้านคำปรึกษา คำแนะนำ วัตถุสิ่งของ หรือ แนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ
- Actor/Actress (นักแสดงชาย หญิง) : ผู้เล่นในภาพยนตร์นั้นๆ
- Characters (ตัวละคร) : อาจเป็นนักแสดงก็ได้ แต่ถ้าไม่มีก็อาจเป็นตัวละครสมมุติ ก็ได้

ภาพยนตร์คืออะไร



       ภาพยนตร์ คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ดูหนัง
      ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง





ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพยนตร์คืออะไร

มุมกล้องของภาพยนตร์

มุมกล้องของภาพยนตร์ Shot ในความหมายของระยะการถ่ายทำภาพยนตร์อาจแบ่งจากลักษณะที่ใช้ในการถ่ายทำได้ดังนี้ 1. ELS หรือ Extreme Long Shot เป...